กอบศักดิ์ ยกเคส “ตุรกี” เงินเฟ้อสูง เอาไม่อยู่เป็นอย่างไร

327 views 3:24 am 0 Comments February 20, 2022

 

“กอบศักดิ์ ภูตระกูล” ยกตัวอย่างสถานการณ์เงินเฟ้อ “ตุรกี” ผู้นำเอาแต่ลดดอกเบี้ย แบงก์ชาติเอาไม่จริง เพิ่มภาระให้ประชาชนต้องเผชิญกับสินค้าราที่แพง

วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2565 นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ แสดงความคิดเห็นกรณีตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคสหรัฐ ประจำเดือนมกราคม แตะที่ระดับ 7.5 เปอร์เซ็นต์ ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อรายปีจนถึงเดือนมกราคม แตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า หลายคนถามว่า “เงินเฟ้อสหรัฐ 7.5% ถือว่าสูงไปไหม น่ากลัวหรือยัง” วันนี้ จึงขอถือโอกาสนำสถานการณ์เงินเฟ้อของอีกประเทศ คือ “ตุรกี” มาฝาก

เงินเฟ้อตุรกีล่าสุด อยู่ที่ 48.69% สูงสุดในรอบ 20 ปี โดยเงินเฟ้อตุรกีเคยเพิ่มขึ้นไปถึง 136.5% ในปี 1980 มาแล้ว แต่ที่น่าสนใจ ก็คือ เมื่อปีที่แล้ว เงินเฟ้อของตุรกียังอยู่ต่ำกว่า 20% อยู่เลย เพียงไม่กี่เดือนเท่านั้น เงินเฟ้อได้เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดมาอยู่ที่ 48.69% เป็นภาระให้กับคนตุรกี ที่ต้องรับสภาพ เผชิญกับราคาข้าวของที่แพงขึ้น

เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% แสดงถึงอัตราเร่งของเงินเฟ้อในตุรกี ที่หมายความว่า ถ้าไม่ระวัง เงินเฟ้อก็อาจจะเพิ่มขึ้นไปได้อีก

ที่เป็นเช่นนี้ ก็เพราะนโยบายของท่านประธานาธิบดีตุรกี ที่สั่งปลดผู้ว่าการ และผู้บริหารระดับสูงของแบงก์ชาติตุรกีเป็นว่าเล่น แล้วสั่งลดดอกเบี้ยลง 4 ครั้ง จาก 19% เหลือ 15% ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อที่กำลังก่อตัวขึ้น

ท่านบอกว่า ดอกเบี้ยสูง ทำให้เงินเฟ้อสูง เป็นภาระต่อการใช้ชีวิตของประชาชนแต่การลดดอกเบี้ย ในยามเงินเฟ้อกำลังก่อตัว ก็เท่ากับยอมแพ้ ยกธงขาวไม่น่าแปลกใจ เงินเฟ้อจึงได้ใจ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากค่าเงินที่อ่อนยวบ จาก 8 ไลร่า/ดอลลาร์ในช่วงก่อนกันยายน 64 เป็น 13.5 ไลร่า/ดอลลาร์ ในเดือนมกราคม 2565

แต่อีกส่วนมาจากการที่ทุกคนคิดว่า แบงก์ชาติไม่เอาจริง ยอมแพ้ไปแล้วทำให้คนตุรกีมีดอกเบี้ยที่ถูกลง แต่ราคาของแพงขึ้นมากมาก (ซึ่งเป็นภาระอย่างยิ่ง) วันนี้จึงขอนำกรณีของตุรกี มาฝากทุกคนว่า “เวลาที่เงินเฟ้อเอาไม่อยู่” และ “เงินเฟ้อที่สูงนั้นเป็นอย่างไร”

อ้างอิง
https://www.prachachat.net/finance/