กสิกรไทย ปักธงปี’66 ปล่อยสินเชื่อสีเขียว 5 หมื่นล้าน หนุนธุรกิจ Net Zero

93 views 7:09 am 0 Comments November 11, 2022

ธนาคารกสิกรไทย ควัก 2 แสนล้านบาท หนุนลูกค้าปรับพอร์ตธุรกิจสู่สินเชื่อสีเขียว-ก้าวสู่ Net Zero ตั้งเป้าปี’66 ปล่อยสินเชื่อ 5 หมื่นล้านบาท นำร่อง 3 กลุ่มธุรกิจ โรงไฟฟ้า-น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ-กลุ่มเหมืองถ่านหิน ลดสัดส่วนลดก๊าชเรือนกระจกจาก 27% เหลือ 20% เผย 9 เดือนแรกปล่อยสินเชื่อแล้ว 1.6 หมื่นล้านบาท

วันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 นายกฤษณ์ จิตต์แจ้ง กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้เตรียมเม็ดเงินเพื่อสนับสนุนด้านความยั่งยืนรองรับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวอย่างต่อเนื่อง รวมมูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ภายในปี 2573 และตั้งเป้าเป็น 1 ในธนาคารชั้นนำทางด้านความยั่งยืนและเศรษฐกิจสีเขียวในภูมิภาค

ทั้งนี้ ธนาคารได้ตั้งเป้าการปรับพอร์ตธุรกิจมาสู่ธุรกิจสีเขียวมากขึ้น หรือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ซึ่งปีนี้จะเน้นโฟกัสใน 3 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มโรงไฟฟ้า กลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และกลุ่มเหมืองถ่านหิน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 27% ของปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดในพอร์ตสินเชื่อของธนาคาร โดยคาดว่าสัดส่วนดังกล่าวจะปรับลดลงต่อเนื่องเหลือ 20% ได้ในอนาคต

และภายในปี 2566 ธนาคารจะขยายการปรับพอร์ตสู่เศรษฐกิจสีเขียวเพิ่มอีก 2 กลุ่มธุรกิจ ที่มีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกราว 40% โดยธนาคารจะมีการวางแผนไกด์ไลน์ และเข้าไปพูดคุยกับลูกค้าเว็บหวยออนไลน์ ถูกกฎหมาย บาทละ 1000 เชื่อถือได้ในการปรับเปลี่ยนธุรกิจไปสู่ความยั่งยืน พร้อมกับข้อเสนอพิเศษแรงจูงใจ (Incentive) ผ่านแคมเปญ และอัตราดอกเบี้ยพิเศษ เพื่อให้ลูกค้ามีความสนใจในการเปลี่ยนผ่าน (Transition)

สำหรับเป้าหมายการสนับสนุนสินเชื่อ โดยในปี 2565 ธนาคารได้ตั้งเป้าสนับสนุนสินเชื่อไว้ราว 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งสามารถปล่อยสินเชื่อไปแล้วกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 66.12% ของเป้าหมาย คาดว่าช่วงที่เหลือของปีนี้อีก 2 เดือนอาจจะทำได้ไม่ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ แต่ธนาคารยังคงเดินหน้าสนับสนุนสินเชื่อต่อเนื่อง

และในปี 2566 ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อและการลงทุนเพื่อความยั่งยืน จำนวน 5 หมื่นล้านบาท โดยการสนับสนุนลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ธนาคารคาดหวังว่าสัดส่วนสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนและสีเขียวจะมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 1-2% เพิ่มเป็น 5% ของฐานสินเชื่อทั้งหมดที่มีอยู่กว่า 2 ล้านล้านบาท โดยสัดส่วนดังกล่าวเป็นตัวเลขที่มีนัยสำคัญ

“พอร์ตสินเชื่อที่มีอยู่ 2 ล้านล้านบาท เทียบกับสินเชื่อสีเขียวระดับหมื่นล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนน้อยมาก 1-2% เท่านั้น ดังนั้น เรายังคงต้องเดินหน้าโครงการต่อเนื่องในช่วงที่ไฟกำลังติดอยู่ ซึ่งเราคาดว่าสัดส่วนนี้จะไต่ระดับเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และตัวเลขที่มีการเปลี่ยนแปลงนัยสำคัญคงต้องอยู่ในระดับ 5% แต่ไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะเห็นภายในปีไหน เพราะขึ้นอยู่กับลูกค้าจะปรับเปลี่ยนหรือไม่ และต้องมีความร่วมมือจากภาครัฐด้วย เพราะเป็นโจทย์ที่ไม่ใช่เฉพาะแบงก์หรือในประเทศ โดยจะต้องมีทั้ง Incentive และบทลงโทษหากไม่ทำ เช่นเดียวกับต่างประเทศ”

นายกฤษณ์กล่าวต่อไปอีกว่า สำหรับลูกค้ารายย่อย ธนาคารมุ่งให้ความรู้ทางการเงินและความปลอดภัยทางไซเบอร์ด้วยการออกแคมเปญสื่อสารที่จะสร้างความเข้าใจและตระหนักรู้ให้เข้าถึงลูกค้า 10 ล้านราย ภายในสิ้นปี 2566

โดยที่ผ่านมา ณ เดือนกันยายน ธนาคารสร้างการเข้าถึงบริการทางการเงินแก่ลูกค้ารายเล็กกว่า 5 แสนราย มูลค่ากว่า 2.3 หมื่นล้านบาท และตั้งเป้าขยายสินเชื่อรายเล็กให้ได้ 1.9 ล้านราย ภายในปี 2568 โดยลูกค้ารายเล็กเป็นลูกค้าบุคคลที่มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาทต่อเดือน ซึ่งอาจไม่มีบัญชีเงินเดือน ประกอบอาชีพอิสระ ไม่มีเอกสารยืนยันรายได้ โดยธนาคารจะพิจารณาอนุมัติจากข้อมูลอื่น ๆ ประกอบ รวมถึงลูกค้าธุรกิจที่มีรายได้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาทต่อปี

และพัฒนาบริการ Beyond Financial Solutions ผสานเทคโนโลยีและความร่วมมือกับพันธมิตร เชื่อมต่อความร่วมมือตลอดซัพพลายเชน เช่น โครงการ SolarPlus ติดตั้งโซลาร์รูฟให้ประชาชนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย และโครงการส่งเสริมการเช่าใช้งาน EV Bike ที่ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้แพร่หลายและช่วยให้ไรเดอร์กลุ่มผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงโอกาสในการประกอบอาชีพ โดยธนาคารจะเดินหน้าขยายโซลูชั่นเหล่านี้ไปสู่ลูกค้าในวงกว้างต่อเนื่อง

“ตลอดระยะเวลาที่ธนาคารทำงานโดยนำหลักการ ESG เข้าไปอยู่ในทุกกระบวนการ เพื่อดูแลให้สินเชื่อที่ปล่อยไปจะไม่สร้างผลกระทบเชิงลบแก่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดให้ทุกสินเชื่อโครงการและเครดิตเชิงพาณิชย์ของลูกค้าผู้ประกอบการขนาดกลางขึ้นไป ต้องเข้าสู่กระบวนการประเมินความเสี่ยงด้าน ESG ทั้ง 100% โดยล่าสุดมีสินเชื่อที่ผ่านกระบวนนี้กว่า 3.4 แสนล้านบาทแล้ว”